- เลือกคู่ที่ขนาดเหมาะสม ความยาวของรองเท้าที่เหมาะสมคือส้นเท้าจะชิดส้นรองเท้าพอดี และส่วนหัวรองเท้าจะเหลือพื้นที่เท่ากับความกว้างของนิ้วหัวแม่มือเมื่อวัดจากนิ้วเท้าที่ยาวที่สุดซึ่งไม่จำเป็น ต้องเป็นนิ้วหัวแม่เท้าเสมอไป หัวรองเท้ากว้างและลึกพอจนไม่กดและเสียดสีกับนิ้วเท้า และส่วนที่กว้างที่สุดของรองเท้าควรตรงและพอดีกับตำแหน่งที่กว้างที่สุดของเท้า
- เลือกซื้อรองเท้าช่วงบ่ายๆ ถ้าต้องเดินในช่วงกลางวัน ควรเลือกซื้อรองเท้าช่วงบ่าย เพราะเท้าจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อผ่านการเดินมาตลอดทั้งวัน เนื่องจากเลือดไหลเวียนลงสู่เท้ามากขึ้น จึงเหมาะที่จะเลือกรองเท้าเพื่อป้องกันปัญหารองเท้าคับ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกิจกรรมและชีวิตประจำวันด้วย
- ลองรองเท้าทั้งสองข้างเสมอ เท้าคนเราสองข้างไม่เท่ากัน จึงควรลองรองเท้าทั้งสองข้างและเดินไปมาด้วยว่าสบายเท้าหรือไม่
- เผื่อที่กันคับ อุปกรณ์เสริมในรองเท้าต่าง ๆ เช่น แผ่นรองเท้า แผ่นกันรองเท้ากัด ฯลฯ จะทำให้รองเท้าคับขึ้น หากต้องใช้อุปกรณ์เหล่านั้น ควรเลือกรองเท้าที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อย
- แบนไปไม่ดี พื้นรองเท้าที่แบนราบเกินไปไม่เหมาะกับสรีระเท้าต่อการรับน้ำหนัก ดังนั้นหากใส่รองเท้าควรเลือกรองเท้าที่มีพื้นนิ่มและเสริมบริเวณอุ้งเท้าจะดีกว่า
?!! ไม่ว่ารองเท้าที่คุณซื้อมาจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ (ไม่เกิน ไซต์ 47)
กล่องรองเท้าของร้าน Sneaka Boxes ก็สามารถรองรับได้ จะรอช้าอยู่ทำไมหละ
ไปเลือกซื้อกล่องรองเท้า เพื่อเป็นตัวช่วยในการรักษารองเท้าคู่โปรดของคุณกันเลย !!!

เลือกซื้อรองเท้าให้เหมาะสมในแต่ละคน
- นักกีฬา ควรเลือกรองเท้าที่มีพื้นนิ่มและมีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับแรงกระแทกได้ดี หากกีฬาที่เล่นใช้ปลายเท้าเป็นส่วนมากเช่น การวิ่ง ควรเลือกรองเท้าที่ออกแบบให้รองรับแรงกระแทกส่วนหน้าโดยเฉพาะ
- ปวดฝ่าเท้าด้านหน้า ปัญหานี้พบบ่อยในผู้ที่ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ ดังนั้นผู้ที่มีอาการนี้จึงควรรองเท้าส้นเตี้ย มีพื้นนิ่ม และมีหน้ารองเท้ากว้าง เพื่อลดการบีบและเสียดสีของเท้า
- มีเท้าแบน ฝ่าเท้าแบนทำให้ปวดบริเวณกลางฝ่าเท้า เนื่องจากเอ็นซึ่งทำหน้าที่ยกอุ้งเท้าถูกดึงยืด ดังนั้นควรสวมรองเท้าที่เสริมอุ้งเท้า (พื้นรองเท้านูนขึ้นตรงอุ้งเท้า) เพื่อช่วยเส้นเอ็นพยุงอุ้งเท้า
- มีอุ้งเท้าสูง คนอุ้งเท้าสูงจะมีปัญหาปวดบริเวณฝ่าเท้าด้านหน้าและส้นเท้า เพราะการรับน้ำหนักของอุ้งเท้าส่วนกลางหายไป รองเท้าจึงควรมีลักษณะเสริมอุ้งเท้า เพื่อช่วยกระจายน้ำหนักจากฝ่าเท้าด้านหน้าและส้นเท้ามาที่อุ้งเท้าและควรเลือกรองเท้าที่มีพื้นนิ่มและมีความยืดหยุ่น
- ปวดส้นเท้า การปวดส้นเท้าส่วนใหญ่เกิดจากจุดยึดพังผืดบริเวณส้นเท้าอักเสบ ซึ่งมักปวดมากในการเดินก้าวแรกหลังตื่นนอน เพราะพังผืดถูกยืดทันทีทันใด รองเท้าที่เหมาะกับปัญหานี้ ควรมีพื้นนิ่ม มีส้นเล็กน้อยเพื่อถ่ายน้ำหนักไปยังเท้าส่วนหน้า การใส่รองเท้าที่มีการเสริมอุ้งเท้า และนวดฝ่าเท้าก่อนลุกจากเตียงรวมถึงการบริหารยืดเอ็นร้อยหวายซึ่งทำได้โดยการนั่งเหยียดขาข้างที่ต้องการยืดไปด้านหน้า และใช้ผ้าคล้องที่ปลายเท้าเอาไว้ ขาอีกข้างชันเข่าขึ้น และออกแรงดึงปลายผ้าทั้งสองข้างเข้าหาตัวจนรู้สึกว่าน่องตึง ค้างไว้ 10 วินาทีนับเป็น 1 ครั้ง ทำวันละ 10-15 ครั้ง จะช่วยลดการปวดเท้าและลดการเกิดอาการช้ำได้
- เป็นเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานมักมีปลายประสาททำงานผิดปกติ ทำให้เท้าชา มีนิ้วเท้าหงิกงอ ทำให้ฝ่าเท้าด้านหน้ารับน้ำหนักมากและนิ้วเท้าเสียดสีกับหัวรองเท้า จึงควรเลือกใส่รองเท้าพื้นนิ่ม มีหัวลึกและกว้าง ห้ามใช้รองเท้าคีบ เพราะอาจทำให้เกิดแผลบริเวณร่องนิ้วเท้าได้โดยไม่รู้ตัว
?!! ไม่ว่ารองเท้าที่คุณซื้อมาจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ (ไม่เกิน ไซต์ 47)
กล่องรองเท้าของร้าน Sneaka Boxes ก็สามารถรองรับได้ จะรอช้าอยู่ทำไมหละ
ไปเลือกซื้อกล่องรองเท้า เพื่อเป็นตัวช่วยในการรักษารองเท้าคู่โปรดของคุณกันเลย !!!
>>>มาเก็บรักษารองเท้าด้วย sneakaboxes กันเถอะะะ<<<
https://www.facebook.com/sneakaboxes/
https://sneakaboxes.wixsite.com/official
Comments